นิ้วล็อก : อาการเริ่มต้นที่คุณอาจกำลังเสี่ยง
นิ้วล็อก : อาการเริ่มต้นที่คุณอาจกำลังเสี่ยง
โรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) คืออะไร?
นิ้วล็อกหรือ “โรคนิ้วล็อก” เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อข้อต่อบริเวณนิ้วมือของคุณไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ แต่มีอาการติดขัดและเสียงดัง “กิ๊ก” คล้ายสปริงเกิดขึ้น โดยที่อาการมักเกิดบริเวณนิ้วชี้หรือนิ้วกลาง หรืออาจเกิดเป็นหลายนิ้วพร้อมกัน
สาเหตุโรคนิ้วล็อก
สาเหตุหลักของโรคนิ้วล็อกเกิดจากการความเครียดทางการงาน การใช้งานนิ้วมืออย่างต่อเนื่อง หรือการขยับนิ้วมือในท่าทางที่ผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณข้อต่อของนิ้ว มีออาการรติดขัดเมื่อเคลื่อนไหว และอาจทำให้เส้นเอ็นติดตัวกันและเลื่อนไหลไม่ได้ตามปกติ
สัญญาณอันตราย อาการโรคนิ้วล็อก
เมื่อคุณเป็นโรคนิ้วล็อกที่เกิดจากปลอกหุ้มเอ็นที่ใช้ในการขยับมีอาการอักเสบ อาการของนิ้วล็อกมี 4 ระยะ
ระยะที่ 1 : มีอาการเจ็บปวดบริเวณโคนนิ้ว
ระยะที่ 2 : เวลางอนิ้วหรือเหยียดนิ้วจะมีอาการคล้ายสปริงที่ดีดพร้อมกับอาการปวดมากขณะขยับนิ้ว
ระยะที่ 3 : ไม่สามารถเหยียดนิ้วได้ ต้องใช้นิ้วอื่นช่วยยืด
ระยะที่ 4 : มีอาการเจ็บปวดรุนแรงไม่สามารถงอนิ้วได้
วิธีการป้องกันโรคนิ้วล็อก
เมื่อเริ่มมีอาการเริ่มต้นของโรคนิ้วล็อก คุณสามารถทำตามแนวทางการป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงได้ คือแช่มือในน้ำอุ่น , งอนิ้ว เหยียดนิ้วให้สุดเบา ๆ, บริหารนิ้วแบบง่าย ๆ ทุกวัน, พักการใช้งานคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เมื่อมีอาการเหนื่อยล้า, หลีกเลี่ยวการถือของหนักหรือกำมือแน่น ๆ
การตรวจรักษาโรคนิ้วล็อก
หากคุณมีอาการนิ้วล็อกที่รุนแรงและกำลังส่งผลกระทบต่อการใช้งานประจำวัน ควรปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม
การรักษาโรคนิ้วล็อกอาจแบ่งออกเป็นหลายวิธี ได้แก่:
การใช้ยา: แพทย์อาจสั่งยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบเพื่อลดอาการที่เกิดขึ้น
การฝังยาสลาย: วิธีการนี้ใช้สารสลายเฉพาะบริเวณที่อักเสบเพื่อช่วยลดการอักเสบและบวม
การผ่าตัด: กรณีที่อาการนิ้วล็อกรุนแรงและไม่ดีขึ้น แพทย์อาจต้องกระทำการผ่าตัดเพื่อฟื้นฟูและปรับปรุงสภาพของข้อต่อนิ้ว
การรักษาโรคนิ้วล็อกควรเป็นการรักษาที่คำนึงถึงอาการและสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมกับคุณเอง